องค์ประกอบในการสร้าง Electronic signature 

กฏหมายจะยอมรับ Electronic signature ก็ต่อเมื่อ เป็นไปตามมาตรฐานที่กฏหมายกำหนด ไม่จำเป็นว่าต้องสร้างจากเทคโนโลยีอะไร โดยจะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้ 

1. สามารถพิสูจน์และยืนยันตัวตนของเจ้าของลายมือชื่อได้

โดยเจ้าของ Electronic signature กับ ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ต้องมีความสัมพันธ์กัน ต้องพิจารณาระดับความน่าเชื่อถือของ ไอเด็นติตี้ และ กระบวนการยืนยันตัวตน 

2. เจตนาในการลงลายมือชื่อ

คือต้องแสดงให้เจ้าของ Electronic signature รู้เกี่ยวกับ วัตถุประสงค์ รายละเอียด หรือเหตุผลที่เข้าใจและยอมรับในการลงลายมือชื่อนั้น  ต้องระบุให้ชัดเจน 

    3. ครบถ้วนไม่เปลี่ยนแปลง

    คือผู้เก็บรักษา Electronic signature ต้องประกันได้ว่า ข้อมูลข้างในอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ มีความครบถ้วนเหมือนตอนแรก และไม่ถูกเปลี่ยนแปลงระหว่างทาง 

    Electronic signature อาจแบ่งออกตามกฏหมายได้ 3 รูปแบบคือ 

    1. แบบทั่วไป หรือแบบที่ต้องใช้วิธีการที่น่าเชื่อถือในการสร้าง ซึ่งจะมีความน่าเชื่อถือหรือไม่นั้นต้องพิสูจน์จากพฤติการณ์ที่เหมาะสม

    2. แบบเชื่อถือได้    ที่กฏหมายรองรับความน่าเชื่อถือได้นั้นมาจาก ข้อมูลที่สามารถโยงไปเจ้าของได้ และอยู่ภายใต้การควบคุมในตอนสร้าง เจ้าของสามารถตรวจพบการเปลี่ยนแปลงได้

    3. แบบเชื่อถือได้และมีใบรับรองจากผู้ออกใบรับรอง ซึ่งแบบนี้จะเหมือนกับแบบที่สอง แต่เพิ่มเติมโดยมีคนกลางหรือผู้ที่ออกใบรับรองให้ เพื่อสนับสนุนความน่าเชื่อถืออีกขั้นหนึ่ง เปรียบเหมือนพยานคอยรับรองให้เจ้าของ Electronic signature

    ผู้เขียน นาย กำชัย ตระกูลไชยสิทธิ์

    วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2564