เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ค. 2564 คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ กรมบัญชีกลาง (คณะกรรมการวินิจฉัย) ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติ การใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการจัดซื้อจัดจ้าง โดยใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ มาตรา 9 และมาตรา 26 ในพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และที่ได้แก้ไขเพิ่มเติม 

เอกสารต้นฉบับ การใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการจัดซื้อจัดจ้าง ดาวน์โหลดเอกสารได้ที่ลิงค์นี้ กวจ ว 348 การใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์

เนื้อหาในเอกสารที่ประกาศออกมาจะเป็นการกำหนดแนวทางปฏิบัติในการจัดซื้อจัดจ้างโดยใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยสาระสำคัญของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ จะอยู่ใน ข้อ 6. การทำสัญญา”  

ผู้เขียนบทความขอสรุป รายละเอียด ข้อ 6. การทำสัญญา ดังนี้ 

6.1 กรณีที่หน่วยงานของรัฐมีระบบลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์รูปแบบที่เชื่อถือได้ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2564 และที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว ก็ให้ดำเนินการใช้ลายมือชื่อเช่นนั้นได้ 

6.2 กรณีที่หน่วยงานของรัฐยังไม่มีระบบลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์รูปแบบที่เชื่อถือได้ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2564 และที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว ให้ดำเนินการดังนี้ 

6.2.1 ให้ผู้มีหน้าที่จัดทำสัญญาส่งสัญญาให้ผู้ชนะหรือได้รับคัดเลือกทางอีเมล และให้ผู้ชนะหรือผู้ได้รับคัดเลือกยืนยันการรับอีเมล โดยการตอบกลับอีเมลนั้นพร้อมกับข้อความ ทราบเงื่อนไขและยินยอมลงนามในสัญญา ซึ่งการตอบกลับอีเมลถือเป็นการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เช่นกัน 

6.2.2 กำหนดระยะเวลาให้ผู้ชนะหรือผู้ได้รับคัดเลือกตอบกลับอีเมลภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่ตอบกลับอีเมลภายในระยะเวลาดังกล่างถือว่าไม่ประสงค์จะทำสัญญา 

6.2.3 หากหน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะทำตามข้อ 6.1 หรือ ข้อ 6.2 ให้ดำเนินการจัดพิมพ์สัญญาเพื่อเสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐพิจารณาลงนามในสัญญา และเรียกให้ผู้ชนะการจัดซื้อจัดจ้างหรือผู้ได้รับคัดเลือกมาลงนามในสัญญาโดยวิธีการปกติ

หน่วยงานของรัฐ ในประเทศไทย ได้พัฒนาการทำงานอย่างรวดเร็ว ได้มีการกำหนดแนวทางเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานโดยการใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ หากใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบที่เชื่อถือได้ เจ้าหน้าที่รัฐสามารถลงลายเซ็นดิจิทัลครั้งเดียวได้

เพราะการลงนามในเอกสารอิเล็กทรอนิกส์จะเป็นการลงนามแบบดิจิทัลหรือเข้ารหัสทั้งไฟล์ จะสะดวกกว่าแต่ก่อนที่ต้องเซ็นเอกสารทุกหน้า อีกทั้งการเก็บเอกสารสามารถเก็บในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้เพราะเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ถือว่าเป็นต้นฉบับ การพิมพ์เอกสารออกมาเป็นกระดาษ ถือว่าเป็นสำเนา (ยกเว้นบางหน่วยงาน ที่ได้ประกาศเพิ่มเติมว่าสามารถใช้แทนต้นฉบับได้) ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2564 และที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว 

หากหน่วยงานรัฐหรือบริษัทเอกชน ที่ต้องทำงานเกี่ยวกับการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง และมีความจำเป็นต้องใช้ระบบลงลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ (มาตรา 9) และระบบลงลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์รูปแบบที่เชื่อถือได้ (มาตรา 26) สามารถทดลองใช้งานระบบฟรี ได้ที่ https://www.esigns.cloud พัฒนาโดย บริษัท ฟรีเวชั่น จำกัด หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณกฤษณ์ 082-579-8555 

ผู้เขียน นายกฤษณ์ สุขวัจน์
วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2564