การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์บนเอกสารสามารถทำได้หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็น การลงลายมือชื่อแบบเต็มตามปกติ การลงลายมือชื่อแบบย่อแค่ตัวอักษรเริ่มต้น การประทับตราขององค์กรหรือของตนเอง และการเช็กช่องรับทราบเอกสาร โดยวิธีทั้งหมดนั้นมีวิธีการอย่างไรบ้าง ผมจะมาอธิบายให้ผู้อ่านทุกคนได้ทราบกัน 

ตัวอย่างลายมือชื่อแบบเต็ม 

เริ่มต้นจากลายมือชื่อแบบเต็ม เป็นลายมือชื่อที่สามารถเขียนได้ด้วยเมาส์ปากกา จอสัมผัสหรือเมาส์ธรรมดาก็ได้ ซึ่งนิยมใช้กันทั่วไปเพราะเซ็นง่ายและสามารถใช้ระบุตัวตนได้เหมือนการลงลายมือชื่อเอกสารบนกระดาษ 

ลายเซ็น-1

ลายมือชื่อแบบย่อ

ต่อมาเป็นลายมือชื่อแบบย่อแค่ตัวอักษรเริ่มต้น หรือที่เรียกว่า Initials นิยมใช้กันในต่างประเทศ อาจใช้คีย์บอร์ดในการพิมพ์หรือเมาส์ในการเขียนก็ได้ มีรูปแบบการเขียนคือนำตัวอักษรแรกของชื่อ ชื่อกลาง(ถ้ามี) และนามสกุลมาเขียน เช่น ถ้าผู้ลงลายมือชื่อมีชื่อว่า Pete Mema Sektow ก็จะมีลายมือชื่อแบบตัวย่อว่า PMS นั่นเอง 

ลายเซ็นแบบย่อ

ตราประทับ

การประทับตราขององค์กรหรือของตนเองบนเอกสาร มักนำเข้ารูปภาพแล้ววางลงบนเอกสาร ตราประทับอาจประกอบด้วยชื่อขององค์กรหรือลายมือชื่อของตนเอง สังกัด ตราองค์กร ฯลฯ 

ตราประทับ

การเช็กกล่องรับทราบเอกสาร

สุดท้ายคือ การเช็กกล่องรับทราบเอกสาร มักใช้คู่กับลายมือชื่อประเภทอื่น เพราะไม่สามารถระบุตัวตนของผู้รับทราบเอกสารได้เพียงจากการเช็กกล่องเอกสารเท่านั้น วิธีการเช็กช่องรับทราบเอกสารมีหลายวิธี ทั้งการพิมพ์เครื่องหมาย checkmark () ในช่องรับทราบเอกสาร

หรือจะใช้การนำข้ารูปภาพ png ที่มีพื้นหลังแบบโปร่งใส (transparent) แล้วจัดรูปภาพนั้นให้อยู่บนช่องที่ต้องการเช็ก หรืออาจจะใช้เครื่องมือที่มีอยู่แล้วของเว็ปไซต์ลงลายมือชื่อก็ได้ 

จากรูปแบบการลงลายมือชื่อแบบต่าง ๆ ที่ได้นำเสนอไป จะเห็นได้ว่าจะมีจุดประสงค์และความเหมาะสมในการลงลายมือชื่อที่แตกต่างกัน ดังนั้น การเลือกใช้รูปแบบการลงลายมือชื่อเองก็มีความสำคัญ และผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้อ่านทุกท่านที่กำลังวางแผนจะลงลายมือชื่อเอกสาร จะได้รับประโยชน์จากบทความนี้ไม่มากก็น้อย 

ผู้เขียน นายเธียรวิชญ์ สิริสาครสกุล

วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2564